1.1 ตัวอย่าง ข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน มาอย่างละ 5 ตัวอย่าง
1.ระบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
ในช่วงปีที่ผ่านมา e-government เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย และคาดว่าคงจะได้ยินกันบ่อยครั้งขึ้น เพราะกระแสของ e-government นับว่ามาแรงทีเดียว เนื่องจากการก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็น e-government และมีการประกาศนโยบายในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น
สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005 ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่สิงคโปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ. 2004 โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000 สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20% ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003 แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-government เร็วที่สุด เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประเทศฝรั่งเศส
สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชน มีการกล่าวถึง ตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่าหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่า การพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด
สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005 ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่สิงคโปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ. 2004 โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000 สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20% ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003 แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-government เร็วที่สุด เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประเทศฝรั่งเศส
สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชน มีการกล่าวถึง ตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่าหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่า การพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด
e-government คืออะไร?
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สำคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนำไปสู่การลดคอรัปชั่น หากเทียบกับ e-commerce แล้ว e-government คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐาน ของ e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ e-commerce มาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น การดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐาน ของ e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ e-commerce มาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น การดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
บทสรุป
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นประเด็นสำคัญส่วนหนึ่งของการก้าวไปเป็น e-government อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน อาทิเรื่องกฎหมาย หรือการปรับกฎระเบียบที่ยังเป็นอุปสรรคของการเป็น e-government มีการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไอที 6 ฉบับ ซึ่งดำเนินการอยู่ รวมทั้งการปรับแก้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ การปรับแก้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ นอกจากนี้ เรื่องของการพัฒนาและเตรียมความพร้อมความรู้ของข้าราชการและประชาชนในการติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยพัฒนาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเป็นเจ้าของหรือผู้ผลิตเทคโนโลยี ก็นับเป็นประเด็นที่จะต้องดำเนินการต่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมด้วย เหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญที่จะสานฝันของภาครัฐไทยในก้าวไปสู่ e-government ให้เป็นจริง ซึ่งคงไม่ไกลเกินไปนัก ซึ่งผู้เขียนหวังว่าการเป็น e-government จะดำเนินไปอย่างมีทิศทาง และเหมาะสมกับประชาชนของประเทศของเรามากที่สุด
ความเป็นมา
จากการศึกษาของ อ.ก.พ.ร เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล) พบว่า การประสานงานกับข้าราชการและพนักงานของรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2550 มีบุคลากรของรัฐจำนวนมากที่ประกาศที่อยู่สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยไม่เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม (Free e-mail) ที่ลงท้ายด้วย @gmail.com, @hotmail.com, @yahoo.com ซึ่งให้บริการโดยบริษัทเอกชนของต่างประเทศเพื่อใช้ติดต่องานราชการ
แต่ระยะสองปีที่ผ่านมาได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่บริเวณตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ทำให้สายเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียและสหรัฐอเมริกาเสียหายไปหลายเส้น เป็นเหตุให้เกิดความคับคั่งในวงจรสื่อสารสำรองที่เหลืออยู่ เป็นผลให้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศหยุดชะงักไปประมาณ 7 วัน ในเดือนกันยายน 2550 นี้ ก็เกิดแผ่นดินไหวอีก ทำให้ระบบสื่อสารชะงักไปประมาณ 2-3 วัน เช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ หากผู้ใดใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศจะประสบปัญหาอย่างยิ่ง เพราะไม่สามารถเข้าไปอ่านหรือส่งจดหมายได้ ซึ่งเช่นเหตุการณ์เช่นว่านี้จะไม่เป็นปัญหาหากใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานในประเทศไทยกันเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้อ่าน “นโยบายการบริการในประเด็นความเป็นส่วนตัว” (Privacy Policy) ของผู้ให้บริการว่า ผู้ใช้บริการยินยอมให้ดำเนินการอย่างไรกับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่ผู้ใช้บริการติดต่อบุคคลอื่นอย่างไรบ้าง เช่น การเปิดอ่านและประมวลผลข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสำรองข้อมูลและการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบริการ ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจเป็นผลเสียต่อราชการไทยในระยะยาว หากบริษัทเอกชนเหล่านั้นนำข้อมูลของไทยมาวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ รวมถึงการนำข้อมูลจราจรของการสื่อสารกันไปใช้ในด้านมิชอบ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการสอดแนมเอกสารที่ต้องปิดเป็นความลับ
ทางเลือกสำหรับหน่วยงานภาครัฐไทย
ในยุโรป ญี่ปุ่นและจีน ได้มีการกำหนดให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาตั้งในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสื่อสารส่วนตัวออกไปเก็บรักษาที่นอกภูมิภาค และในภาครัฐของประเทศเหล่านั้นไม่ได้มีความนิยมในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีสำหรับการติดต่อราชการ ดังนั้น ปัญหาความเสี่ยงของราชการไทยจึงแตกต่างกับสถานการณ์ของประเทศอื่น
วิธีการหนึ่งที่สมควรลงมือทำคือ การจัดทำระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ โดยจัดให้มีบริการที่ใกล้เคียงกับGmail หรือ Hotmail หรือ YahooMail แต่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งควรจะมีการกำกับดูแลโดยภาครัฐ
ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เรื่องโครงการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ มีมติเห็นชอบประกาศนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของข่าวสารภาครัฐ เพื่อกำหนดให้เรื่องการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐนี้เป็นนโยบายที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติตาม และให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐทั้งหมดยุติการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีของเอกชนโดยเฉพาะของต่างประเทศภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องหันมาใช้ระบบของตนเอง หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐภายในสามเดือน
ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) จึงได้พัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางภาครัฐ (mail.go.th) ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานราชการไทยได้ใช้บริการทดแทนการใช้การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีแบบเดิม
คุณสมบัติของบริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางภาครัฐ (mail.go.th)
เป็นระบบ Web-based e-mail ภายใต้ Domain กลาง name.surname@mail.go.thเป็นระบบที่มีเสถียรภาพสูง และมีการควบคุมความปลอดภัยเป็นอย่างดี โดยมีระดับของการบริการไม่ต่ำกว่า 99.5%
มีระบบเฝ้าระวังและการตรวจจับไวรัสและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะตลอดเวลา
มีการจัดทำการบันทึกข้อมูลจราจรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มีระบบการจัดการชั้นความลับและชั้นความเร็วให้แก่เอกสารราชการ
มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 3 GB ต่อ Mail Box
สามารถใช้ได้ตลอดอายุราชการ ไม่ว่าจะย้ายไปสังกัดหน่วยงานใดของรัฐก็ตาม ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อตามสังกัดใหม่
จากการศึกษาของ อ.ก.พ.ร เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล) พบว่า การประสานงานกับข้าราชการและพนักงานของรัฐในช่วงปี พ.ศ. 2550 มีบุคลากรของรัฐจำนวนมากที่ประกาศที่อยู่สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดยไม่เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม (Free e-mail) ที่ลงท้ายด้วย @gmail.com, @hotmail.com, @yahoo.com ซึ่งให้บริการโดยบริษัทเอกชนของต่างประเทศเพื่อใช้ติดต่องานราชการ
แต่ระยะสองปีที่ผ่านมาได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่บริเวณตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ทำให้สายเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียและสหรัฐอเมริกาเสียหายไปหลายเส้น เป็นเหตุให้เกิดความคับคั่งในวงจรสื่อสารสำรองที่เหลืออยู่ เป็นผลให้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศหยุดชะงักไปประมาณ 7 วัน ในเดือนกันยายน 2550 นี้ ก็เกิดแผ่นดินไหวอีก ทำให้ระบบสื่อสารชะงักไปประมาณ 2-3 วัน เช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ หากผู้ใดใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศจะประสบปัญหาอย่างยิ่ง เพราะไม่สามารถเข้าไปอ่านหรือส่งจดหมายได้ ซึ่งเช่นเหตุการณ์เช่นว่านี้จะไม่เป็นปัญหาหากใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานในประเทศไทยกันเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้อ่าน “นโยบายการบริการในประเด็นความเป็นส่วนตัว” (Privacy Policy) ของผู้ให้บริการว่า ผู้ใช้บริการยินยอมให้ดำเนินการอย่างไรกับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่ผู้ใช้บริการติดต่อบุคคลอื่นอย่างไรบ้าง เช่น การเปิดอ่านและประมวลผลข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสำรองข้อมูลและการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบริการ ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจเป็นผลเสียต่อราชการไทยในระยะยาว หากบริษัทเอกชนเหล่านั้นนำข้อมูลของไทยมาวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ รวมถึงการนำข้อมูลจราจรของการสื่อสารกันไปใช้ในด้านมิชอบ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการสอดแนมเอกสารที่ต้องปิดเป็นความลับ
ทางเลือกสำหรับหน่วยงานภาครัฐไทย
ในยุโรป ญี่ปุ่นและจีน ได้มีการกำหนดให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาตั้งในภูมิภาคนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสื่อสารส่วนตัวออกไปเก็บรักษาที่นอกภูมิภาค และในภาครัฐของประเทศเหล่านั้นไม่ได้มีความนิยมในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีสำหรับการติดต่อราชการ ดังนั้น ปัญหาความเสี่ยงของราชการไทยจึงแตกต่างกับสถานการณ์ของประเทศอื่น
วิธีการหนึ่งที่สมควรลงมือทำคือ การจัดทำระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ โดยจัดให้มีบริการที่ใกล้เคียงกับGmail หรือ Hotmail หรือ YahooMail แต่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งควรจะมีการกำกับดูแลโดยภาครัฐ
ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เรื่องโครงการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ มีมติเห็นชอบประกาศนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของข่าวสารภาครัฐ เพื่อกำหนดให้เรื่องการพัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐนี้เป็นนโยบายที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องถือปฏิบัติตาม และให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐทั้งหมดยุติการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีของเอกชนโดยเฉพาะของต่างประเทศภายในหนึ่งปี ทั้งนี้ ข้าราชการระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องหันมาใช้ระบบของตนเอง หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐภายในสามเดือน
ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบสนองมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) จึงได้พัฒนาระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางภาครัฐ (mail.go.th) ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานราชการไทยได้ใช้บริการทดแทนการใช้การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฟรีแบบเดิม
คุณสมบัติของบริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางภาครัฐ (mail.go.th)
เป็นระบบ Web-based e-mail ภายใต้ Domain กลาง name.surname@mail.go.thเป็นระบบที่มีเสถียรภาพสูง และมีการควบคุมความปลอดภัยเป็นอย่างดี โดยมีระดับของการบริการไม่ต่ำกว่า 99.5%
มีระบบเฝ้าระวังและการตรวจจับไวรัสและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะตลอดเวลา
มีการจัดทำการบันทึกข้อมูลจราจรให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มีระบบการจัดการชั้นความลับและชั้นความเร็วให้แก่เอกสารราชการ
มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 3 GB ต่อ Mail Box
สามารถใช้ได้ตลอดอายุราชการ ไม่ว่าจะย้ายไปสังกัดหน่วยงานใดของรัฐก็ตาม ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อตามสังกัดใหม่
ระบบ CRIMES นั้นจะประกอบไปด้วย 1. ระบบงานสอบสวน บันทึกคดีอาญาและส่วนที่เกี่ยวข้อง ระบบสอบสวนบันทึกคดีจราจรและส่วนที่เกี่ยวข้อง 2. ระบบงานการสืบค้น งานด้านสถิติต่างๆ ประมวลผล 3.ระบบการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกและภายใน ตร. และมีการเพิ่ม 4. ระบบงานคนหาย พลัดหลง คนหายไม่ทราบชื่อ แผน และประทุษกรรมอื่นๆ ส่วนระบบ POLIS ก็ยังใช้งานอยู่แต่มีคงไว้แค่งานด้านระบบงานกำลังพล พัสดุ งบประมาณ การเงิน หรืองานบริหาร เท่านั้น
สาเหตุที่ต้องใช้ระบบใหม่ระบบนี้เพราะมีการจัดเก็บข้อมูล หลักฐาน และเชื่อมโยงข้อมูลอย่งเป็นระบบและมีความครอบคลุมเนื้องานมากขึ้น มีระบบฐานข้อมูลกลางส่งให้หน่วยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อธิบายด้วยภาพที่ตำรวจเขาสรุปเอาไว้ก็ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันนี้แต่ละหน่วยงานกำลังทยอยเข้ารับการฝึกอบรมการใช้งานระบบนี้อยู่ และคาดว่าจะสามารถใช้งานทั้งระบบทั่วประเทศได้ภายในปีนี้ ผู้เขียนนำภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชุดที่ใช้ระบบนี้ และภาพหน้าจอ
แต่เมื่อมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษควบคู่กันไปเป็นสัจจธรรม ซึ่งในส่วนของประโยชน์ได้นำเสนอไปพอสมควรแล้ว ส่วนโทษของระบบนี้ก็พอจะวิเคราะห์ได้ว่า ระบบนี้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลอาชญากรรมทั้งหมด ใครทำผิดอะไร มีประวัติอะไรจะถูกบันทึกไว้ เท่านั้นไม่พอ ในการสืบสวน การตรวจสอบที่เกิดเหตุก็จะถูกนำมาบันทึกไว้ในระบบนี้เช่นกัน แต่ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดคือ ตำรวจระดับใดบ้างที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ แต่ถึงกระนั้นเมื่อระบบนี้เป็นที่รวบรวมและประมวลข้อมูลทั้งหมดก็ถือได้ว่าผู้ที่เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ก็ประหนึ่งเป็นผู้กุมอำนาจและทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง ข้อมูลเหล่านี้สามารถให้เป็นคุณให้โทษได้ ดังนั้นระบบการป้องกันรักษาความปลอดภัยให้แก่ข้อมูล ระดับชั้นความลับ ความโปร่งใส และตรวจสอบได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวด ด้วยเหตุนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องตระหนักและระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มากๆ โดยเฉพาะการคุกคามจากภายใน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทุกระดับ รวมทั้ง กลุ่มคนที่ช่วยเหลืองานตำรวจทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนการคุกคามภายนอก ได้แก่ กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญษกรรม ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงหรืออุปถัมภ์ตำรวจทั้งทางตรงและทางอ้อม กลุ่มผู้ก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น การเจาะหรือทำลายระบบ การโจรกรรมข้อมูล เป็นต้น มาตรการป้องกันรักษาความปลอดภัยเหล่านี้เท่าที่ค้นหาข้อมูลพบก็ยังไม่มีการนำเสนอข้อมูลในส่วนนี้มากนัก มีเพียงระบุว่ามีระบบการรักษาความปลอดภัยแบบ THIN CLIENT ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่รู้ว่าการรักษาความปลอดภัยแบบนี้คืออะไร.หากผู้อ่านท่านใดทราบก็รบกวนให้ข้อมูลเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ แต่ถ้าหากผู้เขียนมีโอกาสเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รับผิดชอบ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาได้เมื่อไรจะนำเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป
4. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS)
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(HIS) จากคราวที่แล้วเราได้รู้ถึงความหมายของระบบ HIS แล้ว ในคราวนี้เรามาดูโครงสร้างของระบบ HIS จากภาพด้านล่างระบบ HIS จะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย (Module)หลายโปรแกรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ1. Front office ประกอบด้วย
1.1 Appointment / Registration ระบบจัดการการลงทะเบียนและการนัดหมาย
1.2 Queue Management ระบบจัดการคิว 1.3 Bed Management ระบบบริหารเตียง 1.4 Laboratory / Radiology ระบบห้องแล็บและระบบด้านรังสีวิทยา 1.5 Pharmacy ระบบบริหารเวชภัณฑ์ 1.6 Discharge Management ระบบจัดการผู้ป่วยเมื่อออกจากโรงพยาบาล 1.7 Order Entry / Billing ระบบใบสั่งแพทย์และการเรียกเก็บเงิน 1.8 Collection / Refunds ระบบจัดการสิทธิและการเบิกจ่าย 1.9 EMR (Electronic Medical Record-EMR) คือระบบการให้บริการเวชระเบียนอิเล็กโทรนิกส์
2. Back office ประกอบด้วย 2.1 Debtor Management ระบบบริหารและติดตามค่าใช้จ่าย 2.2 Vendor Management ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์จากผู้จำหน่าย 2.3 Stock Valuation ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุคงเหลือ 2.4 Purchase Order ระบบประมาณการเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน 2.5 Fixed Asset Management ระบบจำหน่ายเวชภัณฑ์และวัสดุที่เหลือจากการใช้งาน 2.6 Expense Allocation ระบบจัดการบริหารงบประมาณและค่าใช้จ่าย 2.7 Stock Management ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุคงเหลือ 2.8 Journals ระบบบริหาร จัดการ คลังข้อมูลงานวิจัย 2.9 Accounting Back - end ระบบัญชี
3. Core ประกอบด้วย 3.1 Master Files ระบบไฟล์ข้อมูลหลัก 3.2 Approval ระบบการอนุมัติ รับรองกระบวนการทำงาน 3.3 Form Designer ระบบจัดการฟอร์มการใช้งาน 3.4 Report Designer ระบบจัดการ สร้างและพิมพ์รายงาน 3.5 Security ระบบความปลอดภัยในการใช้งานซึ่งอาจมีมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นHealth Insurance Portability and Accountability Act (HIPAA) 3.6 Alert / Messaging ระบบการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ ข้อความสั้น
อีกส่วนประกอบหนึ่งทีเป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระบบสารสนเทศทางการแพทย์คือโปรโตคอล HL7 (Health Level 7) ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากจะขออธิบายโดยละเอียดอีกครั้ง
5.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์ (GIS)
ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์ (GIS) กับการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน
ปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานหลายสาขา โดยเฉพาะเป็นงานแก้ไขปัญหาที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากและต้องมีการทำงานร่วมกันในหลายภาคส่วน เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านภัยธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข และที่กำลังเป็นปัญหาระดับชาติ คือ ปัญหาด้านยาเสพติด ซึ่งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ได้นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อครั้งที่ผมดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จึงได้ริเริ่มนำระบบดังกล่าวมาใช้แก่ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังลำปางเป็นจังหวัดแรก เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์และได้รับรางวัลดีเด่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดจากคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Award)
เนื่องจากสถานการณ์ยาเสพติดในขณะนั้นได้ทวีความรุนแรงครอบคลุมในเกือบทุกหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ แพร่ระบาดเข้าสู่ครอบครัว สถานศึกษา โรงงาน สถานบริการ ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ระยะแรกๆ เป็นเพียงผู้เสพจนกระทั่งกลายเป็นผู้ค้ารายย่อยเพื่อหาเงินนำไปซื้อยาเสพติด ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) สารระเหย กัญชาและยาไอซ์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ทีอยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของตารางข้อมูลและฐานข้อมูล ประกอบด้วย ชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุง และการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียมปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่โดยซ้อนข้อมูลทับกันเป็นชั้นๆ โดยยึดค่าพิกัดของข้อมูลแต่ละชั้นเป็นหลัก และวิเคราะห์หาผลลัพธ์ตามเงื่อนไขความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นได้ สามารถใช้ร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ได้ ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้
ข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยงานภาคเอกชน
1.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สำหรับ ธุรกิจภาคเอกชน
ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชน ทั้งที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กล้วนต้องการสารสนเทศด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน ในการทำธุรกิจนั้น บริษัทและผู้บริหารต้องการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา หากไม่มีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาแล้ว การตัดสินใจก็อาจจะผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้เองการจัดเก็บสารสนเทศที่ถูกต้องและเหมาะสมเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถค้นคืนมาใช้ได้เมื่อจำเป็นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
แม้ว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยประกอบการทำงาน และ ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อให้บริษัทและหน่วยงานใช้สำหรับการวางแผนพัฒนาบริษัทและหน่วยงานในระยะยาว ระบบสารสนเทศแบบนี้เรียกว่า ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information System หรือ SIS) บริษัทและหน่วยงานสามารถบรรลุความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ได้โดยการใช้กลยุทธ์ในการเสริมสร้างจุดแข็งให้มากที่สุด ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) และ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ (strategic advantage) ในความหมายเดียวกัน กลยุทธ์ทางธุรกิจนั้นปกติหมายถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดใหม่ และ บริการแบบใหม่ ซึ่งรวมแล้วมีความหมายว่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่มีใครตอบสนองมาก่อน การเปลี่ยนบริการให้รองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ การผูกมัดใจลูกค้าเดิมให้ภักดีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เรามีอยู่ หรือการดำเนินการใด ๆ ที่เพิ่มคุณค่าให้แก่บริษัท เมื่อพูดถึงองค์ประกอบรวมของระบบสารสนเทศก็อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการทำงานที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย 1. ฮาร์ดแวร์ ซึ่งได้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2. ซอฟต์แวร์ ซึ่งได้แก่โปรแกรมต่าง ๆ สำหรับประมวลผลข้อมูล 3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ระบบ LAN 4. ข้อมูล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน 5. บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 6. คู่มือและวิธีการปฏิบัติงาน ซึ่งจำเป็นสำหรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานให้สำเร็จ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไมเคิล พอร์เตอร์ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) กล่าววา การแข่งขันก็คือแก่นของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชน กลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติ กลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่ง เมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไป การเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ ๆ ได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้ |
แสดงว่าบริษัทสามารถใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ นานาหลายแบบในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน |
การใช้สารสนเทศเชิงกลยุทธ์เป็นอาวุธชิงความได้เปรียบ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information System) เป็นระบบที่สนับสนุนหรือช่วยทำให้เกิดกลยุทธ์ในการแข่งขันของหน่วยงาน ระบบ SIS มีลักษณะสำคัญคือสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจของหน่วยงานได้อย่างขนานใหญ่ ซึ่งนั่นก็คือสามารถทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบ SIS ทำเช่นนี้ได้โดยการช่วยกำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน หรือในการช่วยเพิ่มสมรรถนะและผลผลิตได้อย่างมาก ระบบ SIS อาจมีลักษณะมองออกไปข้างนอกคือให้ความสนใจต่อลูกค้า หรือมองเข้ามาข้างในคือให้ความสนใจต่อตัวองค์กรเอง การมองไปข้างนอกเป็นการมุ่งที่การแข่งขันในตลาด เช่น การจัดหาบริการใหม่ ๆ ให้ลูกค้า หรือการผูกสัมพันธ์กับผู้ส่งชิ้นส่วนโดยมีจุดประสงค์ที่จะตีคู่แข่ง ส่วนระบบ SIS ที่มองเข้าข้างในนั้นจะเน้นที่การเพิ่มผลิตภาพของพนักงาน ปรับปรุงการทำงานเป็นทีม และ เสริมสร้างการสื่อสาร บริษัทและหน่วยงานอาจผสมผสานลักษณะทั้งการมองออกไปข้างนอกและมองเข้าข้างในไว้ด้วยกันก็ได้ เช่น ผสมผสาน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (มองออกไปข้างนอก) กับระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ระบบ Customer Resource Management) ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ ไอทียังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในโครงสร้าง การปฏิบัติงาน และ การจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ ความสามารถสำคัญของระบบสารสนเทศมีดังนี้ |
ความสามารถเหล่านี้ช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ คือ ไอทีสามารถช่วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ได้หลายวิธี เช่น |
การที่บริษัทจะปฏิบัติงานอย่างได้ผลนั้นจำเป็นที่บริษัทจะต้องใช้ระบบสารสนเทศ บริษัทสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไปด้วยและขณะเดียวกันก็สามารถลดข้อผิดพลาดและความสูญเสียลงได้ด้วย เป้าหมายหลักของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานก็คือการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และ ทำให้เกิดคามได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนและปรับบริการให้ดีขึ้น ความสำเร็จขององค์การใด ๆ นั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ ถ้าหากการตัดสินใจต้องใช้สารสนเทศจำนวนมากและต้องคำนวณหรือประมวลผลที่ซับซ้อนแล้ว ระบบสารสนเทศจะเป็นประโยชน์มาก ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารมีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ระบบสารสนเทศผู้บริหาร (EIS) และ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ได้พิจารณาระบบสารสนเทศแบบต่าง ๆ และความเชื่อมโยงไปยังฟังก์ชันต่าง ๆ ในองค์การ ความสัมพันธ์กับความจำเป็นทางธุรกิจ และ ระดับการจัดการในองค์การ โดยปกติเราสามารถแบ่งประเภทของระบบสารสนเทศได้ตามระดับความซับซ้อนของระบบ และ ประเภทของงานที่ระบบนั้นช่วยสนับสนุน แสดงว่าหน่วยงานต้องการระบบสารสนเทศแบบใดบ้างโดยแยกตามระดับของการปฏิบัติงานและการบริหาร ทั่วไปแล้วความสัมพันธ์นี้จะเป็นจริง แต่ความต้องการสารสนเทศจะแตกต่างกันมาก หากระบบสารสนเทศสามารถให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ต้องการในทุกระดับของหน่วยงานได้แล้วความสัมพันธ์แบบนี้ก็จะไม่ค่อยถูกต้องกับความจริงนัก การใช้อินเทอร์เน็ตกับธุรกิจภาคเอกชน ปัจจุบัน นโยบายของภาครัฐ มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจภาคเอกชน สามารถทำการแข่งขันและทำการค้าได้เพิ่มขึ้น โดยมีมาตรการสนับสนุนต่างๆจากหลายๆ กระทรวงทบวงกรม หนึ่งในนั้นคือเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ช่วยในการประกอบการค้า เทคโนโลยีสารสนเทศในที่นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลหมายมั่นจะให้ธุรกิจภาคเอกชนสามารถ เข้าไปใช้งานได้เพื่อเพิ่มโอกาสต่างๆให้มากขึ้น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ "การค้า"ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ e-Business, e-Procurement, e-Readiness, e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน ส่วนคำว่า e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง "ธุรกิจ" ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ |
|
ความหมายของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) หมายถึง ระบบงานมีการทำงานโดยการประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน พร้อมกันนั้นก็ยังจัดเก็บข้อมูลที่รับไว้นั้นลงเก็บไว้ในสื่อบันทึกทำให้เกิดเป็นฐานข้อมูล (database) ด้วย ธุรกิจภาคเอกชนได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบสารสนเทศมานานแล้ว และหลายแห่งได้พัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้งานได้มากบ้างน้อยบ้างตามความระดับสามารถ และความต้องการ มาปัจจุบันนี้ธุรกิจภาคเอกชนที่ยังไม่ได้ใช้ระบบสารสนเทศมาก่อนก็เริ่มสนใจพัฒนาขึ้นใช้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะ |
|
ปัจจุบันนี้บริษัทที่ไม่ใช้ระบบสารสนเทศจะไม่มีทางที่จะแข่งขันกับบริษัทอื่นได้ นอกจากนั้นยังไม่สามารถที่จะดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วย 2.ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ ทุกวันนี้ธุรกิจภาคเอกชนใช้ระบบสารสนเทศในทุกสายงาน ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการประมวลผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานของทั้งหน่วยงาน |
สายงานที่ต้องการะบบสารสนเทศ |
3.ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System หรือ TPS) ระบบ TPS เป็นระบบสารสนเทศธุรกิจแบบพื้นฐานและอาจจัดเป็นกระดูกสันหลังของระบบสารสนเทศอื่น ๆ ได้ หน้าที่หลักของระบบ TPS ก็คือการควบคุม การเก็บ การบันทึก การประมวลผล และ การกระจายธุรกรรม (transaction) ทางธุรกิจของหน่วยงานออกไป นอกจากนั้นระบบนี้ยังเป็นตัวแจกจ่ายข้อมูลไปยังระบบงานประยุกต์อื่น ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เราถือว่าระบบ TPS นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การต่าง ๆ เพราะเป็นระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น การจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ การเรียกเก็บเงินลูกค้า การเตรียมบัญชีเงินเดือน หรือการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า ระบบ TPS รวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานตลอดเวลา บางระบบรวบรวมข้อมูลทุกวัน และบางระบบก็อาจจะรวบรวมเก็บข้อมูลในแบบเรียลไทม์ (real time) คือเก็บข้อมูลทันทีทันใดที่ข้อมูลนั้นเกิดขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลขององค์การและใช้สำหรับการประมวลผลในด้านต่าง ๆ |
วัตถุประสงค์หลักของระบบ TPS ก็คือ |
ระบบ TPS มักจะเป็นระบบที่ถูกรื้อปรับระบบก่อน นอกจากนั้นยังเป็นระบบที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุด ระบบ TPS มักจะเชื่อมต่อกับระบบงานประยุกต์ด้านไอทีอื่น ๆ ในหน่วยปฏิบัติการเช่น ระบบ supply chain management และ enterprise resource planning ระบบจัดการสารสนเทศ (Management Information System หรือ MIS) หน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในองค์การนั้นทำหน้าที่มากมายหลายอย่าง งานบางอย่างมีลักษณะที่ต้องทำซ้ำ ๆ เหมือนกันหลายหน และงานบางอย่างอาจจะทำเป็นครั้งคราว ยกตัวอย่างเช่น แผนกทรัพยากรบุคคล ทำหน้าที่ว่าจ้าง ฝึกอบรม และ ให้คำปรึกษาแก่บุคลากร หน่วยปฏิบัติการหรือแผนกเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศที่ออกแบบและสนับสนุนกิจกรรมภายในเป็นพิเศษ ระบบเหล่านี้เรียกว่า functional MIS หรือ ระบบ MIS เฉย ๆ ระบบ MIS ในหน่วยงานต่าง ๆ นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้หน่วยงานสามารถทำงานได้ตามกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วระบบ MIS ช่วยจัดทำสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ผลผลิตของการปฏิบัติงาน โดยการดึงสารสนเทศออกจากฐานข้อมูลขององค์การแล้วนำมาประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้ ระบบ MIS นั้นบางครั้งมีผู้เรียกว่าเป็น tactical system และจัดทำขึ้นเพื่อช่วยงานของผู้บริหารระดับกลางอย่างเช่น การวางแผนระยะสั้น การควบคุมการดำเนินงาน และ การจัดรูปแบบงาน ยกตัวอย่างเช่น การพยากรณ์การขายตามเขตหรือภูมิภาค เป็นรายงานที่ผู้บริหารการตลาดอยากทราบและจะหาได้จากระบบ MIS โดยทั่วไป ระบบ MIS สามารถช่วยงานต่อไปนี้ได้ |
|
โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า ระบบ MIS ช่วยให้ผู้บริหารบอกได้ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นกับการปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือในองค์การบ้าง 4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS) ระบบ DSS ได้รับการออกแบบให้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้มีลักษณะการทำงานแบบโต้ตอบ (interactive) และ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถควบคุมการใช้งานได้ ภาษาระดับสอบถามระดับสูง (high level query language) ช่วยให้ผู้ใช้ตั้งเงื่อนไขในการสอบถามฐานข้อมูลได้โดยง่าย ทำให้ระบบ DSS เหมาะแก่ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured problem) เช่นการวางแผนกลยุทธ์ ระบบ MIS สามารถช่วยให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารได้โดยจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ แต่ระบบ DSS จะช่วยให้ผู้บริหารทดสอบแนวทางอื่น ๆ ได้ว่าควรจะตัดสินใจแบบใด การทดสอบนี้ก็คือการทำ การวิเคราะห์แบบ What-if และ Goal-seeking |
โดยทั่วไประบบ DSS มีลักษณะสำคัญต่อไปนี้ โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าระบบ DSS ช่วยในการหาคำตอบว่าหากตัดสินใจในแบบนั้น ๆ แล้ว จะเกิดอะไรขึ้น |
5.ระบบสารสนเทศผู้บริหาร (Executive Information System หรือ EIS) ระบบ DSS จำนวนมากที่พัฒนาขึ้นนั้นมีจุดมุ่งหมายสำหรับช่วยงานผู้บริหารระดับกลาง และ ผู้เป็นนักวิชาชีพหลายสาขา ระบบ DSS บางระบบจัดทำขึ้นสำหรับช่วยงานวางแผน งานวิเคราะห์ งานวิจัย ตลอดจนงานบริหารอื่น ๆ ด้วย แต่สำหรับผู้บริหารระดับสูงแล้วความต้องการมีมากกว่าการสนับสนุนการตัดสินใจ คือต้องการระบบที่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารทั้งในแบบสรุปและสามารถเจาะลึกได้ในแบบออนไลน์ ระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนงานในลักษณะนี้นิยมเรียกว่า ระบบ Executive Information System หรือ EIS ระบบ EIS จึงหมายถึงระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันทีทันใดที่ต้องการ ระบบ EIS ได้รับการพัฒนาให้ใช้ง่าย สามารถจัดทำรายงานความผิดปกติ และ สามารถเจาะลึกรายละเอียดได้ นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบบริการข้อมูลภายนอก เช่นระบบข่าว และ ระบบอีเมล์ด้วย ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการที่กล่าวมานั้นอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ |
![]() |
ระบบสารสนเทศที่กล่าวมาข้างต้นทุกแบบมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานของหน่วยงานต่าง ๆ สำหรับบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ได้เริ่มสนใจจัดทำระบบสารสนเทศขึ้นใช้กันมากขึ้นแล้ว ระบบส่วนใหญ่ที่เริ่มใช้เป็นระบบ Transaction Processing System และ หลายแห่งเริ่มจัดทำระบบ MIS ขึ้นใช้แล้ว ส่วนระบบ EIS นั้นมีใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ ในส่วนของธุรกิจภาคเอกชนที่ผลิตและใช้สารสนเทศจำนวนมากนั้นผู้บริหารจะต้องรู้วิธีใช้สารสนเทศในกิจกรรมทางธุรกิจทุกด้าน ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจการทำงานทุกส่วนของระบบ เพื่อที่จะได้รู้ว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะควบคุมคุณภาพ ต้นทุน และ การใช้ทรัพยากร หากไม่มีสารสนเทศแล้ว ก็ไม่อาจจะดำเนินกิจกรรมเหล่านี้หรือตัดสินใจในด้านบริหารได้ ในทางปฏิบัติแล้วระบบสารสนเทศที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานนั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน ดังนั้นผู้บริหาร ธุรกิจภาคเอกชนควรให้ความสนใจ และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อจะทราบทิศทาง และประโยชน์ในการประยุกต์ใช้งาน ให้เหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานต่อไป |
1.2 ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศที่ใช้งานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาอย่างละ 1 ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศที่ใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ
ระบบทะเบียนการค้า
กรมทะเบียนการค้าได้เปิดให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์www.thairegistration.com ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถจองชื่อนิติบุคคล ยื่นขอจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท โดยจะต้องเปิดบัญชีธนาคาร และขอเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง พร้อมกับกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนในเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน จนถึงขั้นที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนและแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม ผู้ขอจดทะเบียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารจากเว็บไซต์และให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ลงนามพร้อมชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบของธนาคาร และจัดส่งเอกสารที่ลงชื่อแล้ว พร้อมหลักฐานการจ่ายเงินส่งให้กรมทะเบียนการค้าด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนจะแจ้งให้ผู้จดทะเบียนมารับเอกสารด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
กรมทะเบียนการค้าได้เปิดให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์www.thairegistration.com ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถจองชื่อนิติบุคคล ยื่นขอจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท โดยจะต้องเปิดบัญชีธนาคาร และขอเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง พร้อมกับกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนในเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน จนถึงขั้นที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนและแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม ผู้ขอจดทะเบียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารจากเว็บไซต์และให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ลงนามพร้อมชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบของธนาคาร และจัดส่งเอกสารที่ลงชื่อแล้ว พร้อมหลักฐานการจ่ายเงินส่งให้กรมทะเบียนการค้าด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนจะแจ้งให้ผู้จดทะเบียนมารับเอกสารด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
ระบบสารสนเทศที่ใช้งานในหน่วยงานภาคเอกชน
ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS)

ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม
DPIS : Departmental Personnel Information System
เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการเกี่ยวกับข้าราชการและลูกจ้างประจำระดับกรม ภายใต้โครงการ Government Manpower Planning and Information System มีการพัฒนาและปรับปรุงหลายครั้ง เพื่อให้ทันกับความต้องการ กฎ ระเบียบและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง จนได้ระบบ DPIS Version 2.8 เมื่อปี พ.ศ. 2542 Version 3 ในปี พ.ศ. 2546 และได้เปลี่ยนชื่อโปรแกรมเป็น “โปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม” และเผยแพร่ให้ส่วนราชการ นำไปปรับใช้ หลังคณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 เห็นชอบกับระบบ DPIS Version 3.0 ที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้ส่วนราชการนำไปปรับใช้ จากนั้นสำนักงาน ก.พ. ได้พัฒนา DPIS Version 3.5 เพื่อให้ส่วนราชการได้ใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. จึงได้พัฒนาระบบ DPIS Version 4.0 เพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่รองรับการบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่
ต่อมาในปี 2554 ได้พัฒนาและปรับปรุงโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลเป็น DPIS Version 5.0 ให้สามาถจัดเก็บข้อมูลของลูกจ้างชั่วคราว ปรับปรุงการเก็บข้อมูลบุคคลได้ถึงระดับต่ำกว่าสำนัก/กอง 5 ระดับ การใช้งานตามโครงสร้างตามมองหมายงาน เพื่อให้สามารถใช้งานในการบริหารงานบุคคลให้แก่ส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวันของกรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานการเจ้าหน้าที่
2. เพื่อให้ส่วนราชการมีระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่ใช้เป็นฐานในการวางแผนและการบริหารทรัพยากรบุคคล
3. เพื่อสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่มีมาตรฐาน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
การติดตั้งระบบโปรแกรม DPIS Version 5.0 สามารถติดตั้งได้กับระบบปฎิบัติการ Microsoft Windows XP, Vista, 7, 8 , 2003 Server, 2008 Server และ 2013 Server
คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงินเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาความต้องการทางการเงินของคุณหรือไม่ เรามีเงินให้สินเชื่อตั้งแต่ 5,000.00 เพื่อ 250,000,000.00 แม็กซ์เรามีความน่าเชื่อถือที่มีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและแบบไดนามิกที่มีการตรวจสอบเครดิตไม่มีและนำเสนอ 100% รับประกันเงินกู้ยืมต่างประเทศในช่วงระยะเวลาที่มีทั้งหมดที่นี่ นอกจากนี้เรายังจะออกเงินกู้ในยูโรปอนด์และดอลลาร์อัตราแลกเปลี่ยนของเงินให้สินเชื่อทั้งหมด 2% หากคุณสนใจที่จะได้รับกลับมาให้เราผ่าน marycoleloanscompany3@gmail.com กับข้อมูลต่อไปนี้:
ตอบลบข้อกำหนดการใช้งาน
ชื่อ:
ประเทศ:
เมือง:
ที่อยู่:
จำนวนที่ร้องขอ:
เวลา:
อายุ:
เพศ:
อาชีพ:
ไม่มีโทรศัพท์:
ขอบคุณ
นางแมรี่